Skip to content

BIO100

  • ไบโอ100.ธุรกิจ
  • รู้จักกับเรา
  • สารชีวภัณฑ์
    • คุณสมบัติเด่น
    • การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์
    • จุลินทรีย์บำบัดน้ำ WWT
  • เจลอุ้มน้ำ
    • หลักการทำงาน
    • คุณสมบัติ
    • วิธีใช้งาน
    • เว็บไซด์ SAP
  • ผลิตภัณฑ์
  • การใช้งาน
  • ข้อมูลเทคนิค
  • ไบโอ100.ธุรกิจ
  • รู้จักกับเรา
  • สารชีวภัณฑ์
    • คุณสมบัติเด่น
    • การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์
    • จุลินทรีย์บำบัดน้ำ WWT
  • เจลอุ้มน้ำ
    • หลักการทำงาน
    • คุณสมบัติ
    • วิธีใช้งาน
    • เว็บไซด์ SAP
  • ผลิตภัณฑ์
  • การใช้งาน
  • ข้อมูลเทคนิค
  1. Home
  2. / environmental
  3. / โลกเหลือเวลาอีกไม่มาก

โลกเหลือเวลาอีกไม่มาก

adminenvironmentalwwt

มุมน้ำเงิน (สหรัฐอเมริกา)

We Don’t Have Much More Than 10 Years

US President . Joe Biden

สถาณการณ์โลกร้อนตอนนี้มาถึงจุดวิกฤติ เรามีเวลาอีกอย่างมากไม่เกิน 10ปี ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเด็นให้สัมภาษณ์เมื่อไม่กี่วันที่ผ้านมา เขากล่าวระหว่างเข้าเยี่ยม California’s Office of Emergency Services

เขาย้ำว่าปัญหาโลกร้อน ความแห้งแล้ง และไฟป่าที่เกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในสหรัฐ ทำอันตรายต่อทั้งชีวิตทรัพย์สิน และสร้างเสียหายมหาศาลประเมินค่าไม่ได้ ทางเศรฐกิจ ล้วนเกิดจากปัญหาสะสมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และเขายืนยันเจตนารมณ์ตามที่เขาเคยให้ไว้ตอนเข้ารับตำแหน่ง ว่าจะสนับสนุนการแก้ปัญหาเรื่องนี้จริงจัง ล่าสุดเขาเตรียมเสนอขออนุมัติเงินช่วยเหลือจากรัฐสภา (ซึ่งก็คงไม่ได้จะทำได้โดยง่าย เพราะมีผู้เห็นต่างมากพอสมควร) ในวงเงินมูลกว่าสูงกว่า $11.4 billion เพื่อนำไปช่วยประเทศกำลังพัฒนา ให้สามารถเข้าร่วมและบรรลุมาตราการลดโลกร้อนด้วยเช่นกัน และจะเป็นผู้นำเร่งรัดให้พวกประเทศที่รำ่รวยกว่าร่วมสนับสนุนเงินให้ครบ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามสัญญาที่ให้ไว้ใน Paris Agreement ที่ตั้งเป้าหมายร่วมกันไม่ปล่อยก๊าชเรือนกระจกไปมากกว่าที่สามารถกำจัดได้ NET ZERO ในปี 2050 เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้สูงขึ้น 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียส

มุมแดง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

China will step up support for other developing countries in developing green and low-carbon energy, and will not build new coal-fired power projects abroad,

Chinese President Xi Jinping

ถัดมาเพียง 1 วัน Chinese President Xi Jinping’s ออกมาให้สัภาษณ์ว่า จีนจะหยุดสร้างโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องพึ่งพาถ่านหิน ส่วนโรงงานที่มีมาก่อนหน้า จีน (เป็นผู้ใช้พลังงานถ่านหิน ขับเคลื่อนหลัก) ก็จะค่อยลดลงการพึ่งพิงถ่านหิน และหันมาทุ่มเทการวิจัยและใช้พลังงานทางเลือกทดแทน อย่างโครงการหลายแห่งในอินโดนีเซีย และบังคลาเทศ ก็คงต้องยกเลิกไป เพราะทรัพยากรในนั้น มีถ่านหินเป็นหลัก

เจ้าหน้าที่ระดับสูงจีน ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันประเทศจีนมีอุตสาหกรรมเพียง 20% และส่วนใหญ่อยู่นอกประเทศจีน ที่ใช้พลังจากถ่านหินเป็นหลัก ซึ่งการที่ทางประธานาธิบดี Xi ให้นโยบายหยุดสร้างเพิ่ม โดยยอมให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจถูกกระทบ อันเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของจีน โดยเขามองว่าจีนจะไปถึงจุดพีค (Peak) ของสร้างก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 แล้วจะค่อยๆลดต่ำลง

แต่จีนก็ยังเป็นจีน ไม่ยอมเล่นตามเกมส์ทางตะวันตกเสียทีเดียว โดยทางจีนยืนยันว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายได้สำเร็จแน่นอน อย่างที่จีนรับรอง จนถึงจุดศูนย์ NET ZERO ภายในปี 2060 (หรือ สิบ(10)ปีให้หลังจากที่ UN กำหนด .

การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC)

ปี2015 หรือ 5 ปีก่อนสหประชาชาติมีมติร่วมกับนนาชาติเพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 45%ภายในปี 2030 ซึ่งก็จะทำให้โลกของเราถึงจุดสมดุลที่และมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นสุทธิ เป็นศูนย์ (0) หรือ Net Zero ภายในปี 2050 โดยพลเมืองโลกต่างหันมาใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก และสภาวะโลกร้อนที่พวกเราประสบพบเจอตลอดหลายปีจะค่อยๆบรรเทาและก็คลี่คลายลง

มิถุนายน 2021 ในที่ประชุมที่ Brussel เลขายูเอ็นนาย อันโตนิโอ กูเทียเร ออกมาให้ข้อมูลว่าอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก 3 องศาเซลเซียส แทนที่จะเป็น 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียส ตามเป้าที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีส โดยย้ำว่าเวลาของเราก็ใกล้จะหมดลงแล้ว ที่จะสามารถทำอะไรเพื่อกอบกู้สถานการณ์

ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา (กันยายน 2021) จากรายงานล่าสุดจากที่ UN General Assembly พบว่ายังมีประเทศอีก 30% ที่ไม่ยอมแม้กระทั่งส่งเป้าหมาย NDC (National Determined Contributions) หรือ’การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด’ ในการทำให้โลกเรามีก๊าซเรือนกระจกสุทธิเพิ่มเป็นศูนย์(0) ในปี 2050 ซึ่งตัวเลขการมีส่วนร่วมนี้สำคัญมาก เพราะเราจะได้มีมาตรวัดเพื่อเปรียบเทียบความพยายามของแต่ละประเทศ และผลลัพธ์ความสำเร็จ หรือปัญหาที่พวกเราต้องช่วยเข้าไปดูหรือช่วยเหลือ อย่างเช่นจีน และอินเดีย ประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่อันดับ 1 และอันดับ 3 ของโลก ที่ดูยังมีปัญหา โดยมีปัจจัยของความต้องการพลังงานเพื่อขับเคลื่อนเศรฐกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เลยใช้ในรูปของ coal พลังถ่านหิน

เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDC)

ในวาระที่โลกเรากำลังจะจัดประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของยูเอ็น COP26 ในพฤศจิกายนที่กำลังจะมาถึง UN ได้ทำบทวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวเลขของ 191 ประเทศ ที่ส่งการบ้าน NDCหรือ ‘เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ’ เข้ามา NDC (National Determined Contributions) หรือ’การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด’ ที่แต่ละประเทศ/รัฐที่ลงนามรับรอง และสรุปภาพเบื้องต้นให้ดูเพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังความจริง เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซที่ประเมินว่าจะต้องลดให้ได้ 45%ในปี 2030 กลับเพิ่มขึ้นถึง16% เมื่อนำมาเทียบกับปี 2010

เราสามารถเห็นได้ชัดเจนจากช่องว่างของเส้นกราฟที่วิ่งห่างออกจากกัน และยังพุ่งสูงชัน ห่างไกลจากเป้าหมายยาวไปถึงปี 2060

ถ้ามาดูคะแนน NDC รายประเทศ ส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามคาด อย่างไทยแลนด์แดนสยามของเรา เรื่องนี้เราก็รับ F (Critically Insufficient) ตกชั้นไปตามฟอร์ม แต่มีเซอร์ไพรส์อย่าง ที่มีสิงคโปร์สอบตกเป็นเพื่อนด้วย + + + + + โดยมีประเทศจีน อินเดีย ตัวกลั่นแห่งวงการสร้างก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งประเทศอย่าง Australia, New Zealand, Canada, South America, UAE และ เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย ทำดีกว่าเล็กน้อย ได้เกรด D (Highly Insufficient) กันไป + + + + + แต่ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เยอรมันนี และญี่ปุ่น ก็ล้วนแต่อยู่ในข่ายทำได้ไม่ดีนัก พอผ่านไปรับเกรด C (Insufficient) ได้แค่นั้น


หมายเหตุ

วาระสำคัญ COP26 – UN Climate Change Conference) การประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศชองยูเอ็นครั้งที่ 26 ที่จะมีขึ้นในเดือนพศจิกายนนี้ ได้แก่

  • หยุดใช้พลังงานถ่านหิน
  • หยุดตัดไม้ทำลายป่า
  • เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า
  • ลงทุนในการผลิตพลังงานหมุนเวียน

โดยมีประเด็นสำคัญอีกเรื่องคือ การติดตามให้ประเทศที่ร่ำรวยให้สนับสนุนเงินแสนล้านดอลล่าห์สหรัฐ (USD 100,000,000.-) เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาสามารถปรับตัวเพื่อมีส่วนร่วม และร่วมกันบรรลุเป้าหมาย NET ZERO ร่วมกัน

แล้วเรามาติดตามกันครับว่า ผลลัพธ์ของการประชุมจะเป็นอย่างไร ?

แหล่งข้อมูล

NewYorkTimes
GlobalTimes
S&P Global Intelligence
BBC news
UN Climate Change


ติดตามสาระ GREENTIPS ไอเดียหลากหลายที่ 〜
🌐 : greentips.net
Facebook: Bio100Percent
Line: @BIO100
IG: instagram.com/bio100plus

greentipsบำบัดน้ำเสียมลภาวะลดมลภาวะโลกร้อน

Post navigation

Previousภาชนะรักษ์โลก nativetrails
Next 10 ไม้ยืนต้นออกดอกสวย

ผลิตภัณฑ์ของเรา

  • สารชีวภัณฑ์
  • เจลอุ้มน้ำ
  • บทความผลิตภัณฑ์

โพสต์ล่าสุด

  • เอลนีโญ (El Niño) สร้างสถิติปีแห่งความแห้งแล้ง
  • ดื่มกาแฟแบบเป็นมิตรกับโลก
  • ปัญหาโลกแตก Plastic หรือ Paper
  • ปลูกกาแฟใต้ร่มเงา(ต้นไม้ใหญ่)ในป่า
  • การปลูกกาแฟแบบดั้งเดิมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

#แท็ก (TAG)

1000pruksa bio100aqua bio100basic bio100h2o bio100plus bio100wwt bx-1 FOG greentips hydrogel wdp กาแฟป่า กำจัดกลิ่น กำจัดไขมัน จุลินทรีย์ ต้นยางพารา น้ำหมัก น้ำเสีย บำบัดน้ำเสีย ประหยัดน้ำ ปลูกป่า ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก พลังงานสะอาด พลังสะอาด มลพิษ มลภาวะ รีไซเคิล ลดมลภาวะ วิธีใช้ สวนสมดุลย์ สัตว์น้ำ สารอุ้มน้ำ สิ่งแวดล้อม อินทผาลัม เจลอุ้มน้ำ เลี้ยงกุ้ง โปรไบโอติกส์ โพลิเมอร์อุ้มน้ํา โพลีเมอร์ โลกร้อน

© Copyright 2021 BIO100 สงวนสิทธิ์ทุกประการ

Proudly powered by WordPress | Theme: Fox009 Wisdom by Fox009.