Skip to content

BIO100

  • ไบโอ100.ธุรกิจ
  • รู้จักกับเรา
  • สารชีวภัณฑ์
    • คุณสมบัติเด่น
    • การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์
    • จุลินทรีย์บำบัดน้ำ WWT
  • เจลอุ้มน้ำ
    • หลักการทำงาน
    • คุณสมบัติ
    • วิธีใช้งาน
    • เว็บไซด์ SAP
  • ผลิตภัณฑ์
  • การใช้งาน
  • ข้อมูลเทคนิค
  • ไบโอ100.ธุรกิจ
  • รู้จักกับเรา
  • สารชีวภัณฑ์
    • คุณสมบัติเด่น
    • การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์
    • จุลินทรีย์บำบัดน้ำ WWT
  • เจลอุ้มน้ำ
    • หลักการทำงาน
    • คุณสมบัติ
    • วิธีใช้งาน
    • เว็บไซด์ SAP
  • ผลิตภัณฑ์
  • การใช้งาน
  • ข้อมูลเทคนิค
  1. Home
  2. / coffee
  3. / การปลูกกาแฟแบบดั้งเดิมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

การปลูกกาแฟแบบดั้งเดิมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

admincoffeeenvironmental
การปลูกกาแฟแบบดั้งเดิมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
Shade-grown Coffee : การปลูกกาแฟใต้ร่มเงาไม้ใหญ่

ในอดีต การปลูกกาแฟจะทำในร่มเงาของต้นไม้ภายในป่า (แบบวนเกษตร) ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และแมลงทั้งหลาย ทฤษฎีนี้มักจะเป็นไปตามทฤษฎีแบบดั้งเดิม ในปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากได้เปลี่ยนไปใช้วิธีการปลูกต้นกาแฟแบบทันสมัย โดยการใช้แสงอาทิตย์ในการปลูกต้นกาแฟ ซึ่งต้นกาแฟจะถูกปลูกเรียงกันเป็นแถวอยู่ใต้แสงอาทิตย์โดยมีป่าร่มเงาเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย การปลูกแบบใหม่นี้ทำให้เมล็ดกาแฟสุกเร็วขึ้นและให้ผลผลิตมากขึ้น แต่การปลูกแบบดังกล่าวจำเป็นต้องตัดต้นไม้ ใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจำนวนมาก อีกด้านหนึ่ง การปลูกต้นกาแฟแบบดั้งเดิมจะทำให้เมล็ดกาแฟสุกช้ากว่าการปลูกต้นกาแฟแบบใหม่และให้ผลผลิตน้อยกว่า แต่จะให้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพสูงกว่า

นอกเหนือจากนั้น ทฤษฎีดั้งเดิมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในกับสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก นักวิชาการทางด้านการปลูกกาแฟแบบใหม่กล่าวว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น การตัดไม้ทำลายป่า มลภาวะที่เกิดจากยาฆ่าแมลง การทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า การเสื่อมคุณภาพของดินและน้ำ ดังนั้นนักวิชาการพบว่าเราต้องใช้กาแฟเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ป่าได้ แทนที่จะปล่อยให้กาแฟกลายเป็นพืชกินป่าเช่นเดียวกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ กุญแจสำคัญอยู่ที่การย้อนกลับไปสู่วิถีการปลูกแบบดั้งเดิมและทำความเข้าใจ

เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกกาแฟก็คือภูมิอากาศแบบเขตร้อนตามแนวเส้นศูนย์สูตร ราวเส้นละติจูด 25 องศาเหนือลงมาถึงเส้นละติจูด 30 องศาใต้ ทุกวันนี้มีประเทศที่ปลูกกาแฟเชิงพาณิชย์กว่า 50 ประเทศทั่วโลกกระจายอยู่ตามเส้น Coffee Belt หรือ The Bean Belt – between latitudes 25 degrees North and 30 degrees South.

ประเทศที่ผลิตกาแฟมากที่สุดห้าอันดับแรกตามข้อมูลปีล่าสุดได้แก่ บราซิล เวียดนาม โคลัมเบีย อินโดนีเซีย และเอธิโอเปีย จะเห็นว่าล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงติดอันดับโลกทั้งสิ้น

ในธรรมชาติกาแฟเป็นพันธุ์ไม้ที่พบในป่าดิบ ตั้งแต่นั้นมนุษย์จึงเริ่มนำกาแฟมาทำเป็นเครื่องดื่ม จนกลายมาเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่สุดของโลก โดยธรรมชาติกาแฟจึงเป็นพืชที่ทนแสงแดดจัดไม่ได้และเติบโตอยู่ใต้ร่มไม้ในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้น ป่าที่มีโครงสร้างพรรณไม้สลับซับซ้อนย่อมเอื้อต่อการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะนกนานาชนิด ต้นกาแฟที่ขึ้นอยู่ในป่าจึงไม่มีปัญหาเรื่องแมลงเลย เพราะมีกลุ่มนกกินแมลงคอยควบคุมศัตรูพืชให้ วิธีการปลูกกาแฟแบบดั้งเดิมจึงเป็นการปลูกต้นกาแฟแซมในป่าและปล่อยให้ธรรมชาติดูแล ชาวบ้านแค่ตัดแต่งกิ่งและคอยเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างเดียว

แต่กาแฟก็เหมือนพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่เมื่อมีความต้องการปริมาณมากๆ จึงมีการนำสายพันธุ์ดั้งเดิมมาปรับปรุง และปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ในกรณีของกาแฟนั่นคือการปรับปรุงพันธุ์ให้เติบโตได้ดีในที่โล่ง ทนแสงแดดจัด เพื่อให้ต้นกาแฟออกผลมากๆ การปลูกกาแฟในช่วง ปีหลังๆจึงกลายเป็นการปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยวเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ซึ่งนำไปสู่การบุกรุกพื้นที่ป่าเขตร้อนเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก กาแฟสายพันธุ์ใหม่แม้จะให้ผลผลิตสูงกว่าแต่มีโรคแมลงเยอะ แถมยังต้องใช้ปุ๋ยเคมีเป็นประจำ เนื่องจากการปลูกในที่โล่งนำไปสู่การกัดเซาะหน้าดินยามฝนตก หน้าดินที่อุดมสมบูรณ์จึงค่อยๆหายไป เกษตรกรจึงต้องใช้ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่อง เพราะดินเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ

ในขณะที่การปลูกกาแฟแบบดั้งเดิมใต้ร่มไม้ในป่าไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงหรือใส่ปุ๋ยแต่อย่างใด เพราะธรรมชาติช่วยควบคุมศัตรูตามธรรมชาติและเติมปุ๋ยให้อยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ที่สมบูรณ์และมีความยั่งยืนสูงมาก ศูนย์วิจัยนกอพยพของสถาบันสมิธโซเนียนในสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่บุกเบิกและส่งเสริมแนวคิดการปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ (shade-grown coffee) เนื่องจากพบว่าการเกษตรวิธีนี้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้เป็นอย่างดี  เพราะส่งเสริมให้มีการเก็บรักษาหย่อมป่าตามธรรมชาติเอาไว้

ด้วยการนำของสถาบันสมิธโซเนียน นักสิ่งแวดล้อม เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ และบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านกาแฟ ทำให้มีการจัดประชุมกาแฟยั่งยืน (Sustainable Coffee Congress) ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1996 เพื่อกระตุ้นให้มีการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการปลูกกาแฟ และหันกลับมาส่งเสริมวิธีการปลูกกาแฟใต้ร่มไม้เชิงอนุรักษ์

การประชุมดังกล่าวได้มีการนำเสนอผลการวิจัยที่พบว่าในแปลงปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ในป่ามีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก แปลงปลูกกาแฟใต้ร่มไม้บางแปลงในเม็กซิโกสามารถพบนกได้มากถึง 180 ชนิดเรียกว่ามีความหลากหลายแทบไม่น้อยกว่าในป่าธรรมชาติ ผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีการพัฒนามาตรฐานกาแฟใต้ร่มไม้ขึ้นเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ให้เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการปรับปรุงแนวทางการปลูกให้ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองเพื่อสามารถส่งขายในราคาที่ดีกว่า ทั้งยังเพื่อป้องกันการสวมรอยและปลอมฉลากว่าเป็น “กาแฟใต้ร่มไม้” มาตรฐานกาแฟใต้ร่มไม้ที่ได้รับการยอมรับ

ในปัจจุบันมีอยู่สามสี่สถาบันหลักๆ ได้แก่ Bird Friendly© ของสถาบันสมิธโซเนียน ECO-OK© ของ Rainforest Alliance ORGANIC©  และ Fair Trade© จึงนับได้ว่ากาแฟใต้ร่มไม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการทำการตลาดสีเขียวว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

Bird Friendly Coffee At A Glance

ยุคแรกๆ โดยผู้บริโภคมีส่วนโดยตรงในการกำหนดอนาคตของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ หากผู้บริโภคมีความรับผิดชอบมากขึ้นและยินดีที่จะซื้อกาแฟที่มีการผลิตยั่งยืนกว่าในราคาที่สูงกว่า นั่นย่อมเป็นตัวกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาปลูกกาแฟใต้ร่มไม้กันมากขึ้น ตลอดระยะเวลาเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมาได้มีการทำวิจัยเปรียบเทียบผลดีผลเสียของการปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ออกมามากมาย ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ได้ข้อสรุปตรงกันว่าหากดำเนินการตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่มีการกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด การปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ให้ผลดีกว่าการปลูกแบบอุตสาหกรรมกลางแจ้งในทุกๆ ด้าน


ติดตามสาระห่วงไยสิ่งแวดล้อม 〜
Facebook: Bio100Percent
IG: instagram.com/bio100plus
Line: @BIO100
Blockdit : GREENTIPS
🅱logger : GREENTIPS by BIO100

ร่วมสนับสนุนโดย 🌐 : ไบโอ100.ธุรกิจ

greentipsกาแฟป่าปลูกป่าสิ่งแวดล้อมโลกร้อน

Post navigation

Previousรู้จักกับ Rainforest Alliance Certified
Next ปลูกกาแฟใต้ร่มเงา(ต้นไม้ใหญ่)ในป่า

ผลิตภัณฑ์ของเรา

  • สารชีวภัณฑ์
  • เจลอุ้มน้ำ
  • บทความผลิตภัณฑ์

โพสต์ล่าสุด

  • เอลนีโญ (El Niño) สร้างสถิติปีแห่งความแห้งแล้ง
  • ดื่มกาแฟแบบเป็นมิตรกับโลก
  • ปัญหาโลกแตก Plastic หรือ Paper
  • ปลูกกาแฟใต้ร่มเงา(ต้นไม้ใหญ่)ในป่า
  • การปลูกกาแฟแบบดั้งเดิมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

#แท็ก (TAG)

1000pruksa bio100aqua bio100basic bio100h2o bio100plus bio100wwt bx-1 FOG greentips hydrogel wdp กาแฟป่า กำจัดกลิ่น กำจัดไขมัน จุลินทรีย์ ต้นยางพารา น้ำหมัก น้ำเสีย บำบัดน้ำเสีย ประหยัดน้ำ ปลูกป่า ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก พลังงานสะอาด พลังสะอาด มลพิษ มลภาวะ รีไซเคิล ลดมลภาวะ วิธีใช้ สวนสมดุลย์ สัตว์น้ำ สารอุ้มน้ำ สิ่งแวดล้อม อินทผาลัม เจลอุ้มน้ำ เลี้ยงกุ้ง โปรไบโอติกส์ โพลิเมอร์อุ้มน้ํา โพลีเมอร์ โลกร้อน

© Copyright 2021 BIO100 สงวนสิทธิ์ทุกประการ

Proudly powered by WordPress | Theme: Fox009 Wisdom by Fox009.